ศูนย์รังสีวิทยา

โรงพยาบาลหัวเฉียว   รพ.เอกชนเพื่อสังคม  (Social Enterprise)   ให้บริการรักษาโรคทั่วไปและโรคซับซ้อนครอบคลุมทุกสาขาการแพทย์ (โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ)   ด้วยนโยบายสำคัญในการกำหนดอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล  

โรงพยาบาลหัวเฉียว   รพ.เอกชนเพื่อสังคม  (Social Enterprise)  
ให้บริการรักษาโรคทั่วไปและโรคซับซ้อนครอบคลุมทุกสาขาการแพทย์ (โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ)  ด้วยนโยบายสำคัญในการกำหนดอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล  

ศูนย์รังสีวิทยา โรงพยาบาลหัวเฉียว

ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วยการถ่ายภาพรังสีแบบครบวงจร โดยใช้เทคโนโลยีระดับสูงที่ทันสมัย ให้บริการผู้ป่วยที่ต้องได้รับการตรวจทางรังสีตั้งแต่ระดับปฐมภูมิไปจนถึงตติยภูมิ

ศูนย์รังสีวิทยา  Radiology Center

ศูนย์รังสีวิทยา โรงพยาบาลหัวเฉียว  มีทีมรังสีแพทย์ที่มีความชำนาญการเฉพาะด้าน รวมทั้งทีมนักรังสีการแพทย์ พยาบาล ที่มีความชำนาญการด้านวิชาชีพโดยเฉพาะในงานที่เกี่ยวข้องกับรังสีและการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย เครื่องมือทางการแพทย์ที่ศูนย์รังสีวิทยาใช้ในการให้บริการเป็นระบบดิจิทัลทั้งหมด ซึ่งจะสามารถรองรับการบริการ ที่มีจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว แพทย์ทุกหน่วยบริการสามารถดูภาพเอกซเรย์ผ่านระบบดิจิทัลทางจอมอนิเตอร์ได้ทันที ไม่ต้องให้ผู้ป่วยหรือเจ้าหน้าที่เดินถือฟิล์มเอกซเรย์ไปหาแพทย์

บริการตรวจวินิจฉัยและรักษา

  1.  ให้บริการถ่ายภาพรังสีทั่วไปและตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan – 160 slides)  ตลอด 24 ชั่วโมง
  2.  ให้บริการถ่ายภาพรังสีพร้อมอ่านผลและบริการตรวจพิเศษ   ตั้งแต่เวลา 08.00 – 20.00 น.     
  • การตรวจอวัยวะภายในโดยไม่มีการใส่ส่วนของอุปกรณ์ใดๆ เข้าไปในร่างกาย  ด้วยเครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)  
  • การตรวจมะเร็งเต้านม  ด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม 3 มิติ (3D Tomosynthesis Mammogram With Breast Ultrasound)
  • การตรวจอวัยวะภายในด้วยเครื่องอัลตราซาวด์  คลื่นเสียงความถี่สูง  (Ultrasound) 
  • การตรวจพิเศษทางรังสีวิทยาของระบบทางเดินปัสสาวะ  ซึ่งประกอบด้วยไต  ท่อไต  และกระเพาะปัสสาวะ  
  • การตรวจวิเคราะห์ความหนาแน่นของกระดูก  ด้วยเครื่อง Bone Mineral Density : BMD

3.  ให้บริการเครื่อง Portable Ultrasound สำหรับแพทย์เจ้าของไข้ ตลอด 24 ชั่วโมง
4.  บริการด้านรังสีร่วมรักษา (Interventional Radiology)

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan 160 - Slices)

เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI - Magnetic Resonance Imaging)

เครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม 3 มิติ (3D Tomosynthesis Mammogram With Breast Ultrasound)

เครื่องตรวจวิเคราะห์ความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density : BMD)

อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์อันทันสมัยเพื่อการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำมีมาตรฐาน

  1. เอกซเรย์ทั่วไป (General x – ray)
    • เป็นการตรวจเอกซเรย์ทั่วไประบบดิจิทัล สามารถเอกซเรย์ได้ทั่วทุกส่วนของร่างกาย เช่น ปอด กระดูกแขน ขา เป็นต้น
  2. เอกซเรย์ส่องตรวจ (Fluoroscope)
    • เป็นการตรวจทางรังสีที่เห็นการเคลื่อนไหว เหมาะแก่การตรวจระบบทางเดินอาหาร เช่น การกลืนแป้งหรือสวนแป้ง  การตรวจมดลูกและท่อนำไข่ในภาวะมีบุตรยาก  เป็นต้น
  3. เอกซเรย์เต้านม (Mammogram)
    • เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเต้านม โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก จะทำการตรวจร่วมกับเครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)
  4. เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan – 160 slides)
    • เป็นการตรวจทางการแพทย์ด้วยคลื่นเอกซเรย์ สามารถสร้างภาพตามแนวตัดและแนวขวาง 3 มิติ ของอวัยวะที่ต้องการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ความละเอียดสูงในการแปลงสัญญาณภาพ สามารถตรวจอวัยวะได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย เช่น สมอง ทรวงอกและปอด ช่องท้อง กระดูกสันหลัง แขนขา ฯลฯ รวมทั้งสามารถตรวจเส้นเลือด เช่น เส้นเลือดที่หัวใจ สมอง คอ ปอด แขนขา ฯลฯ
  5. เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
    • เป็นการตรวจทางการแพทย์โดยอาศัยหลักการของคลื่นแม่เหล็กและวิทยุ แล้วนำสัญญาณที่ได้มาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ทำให้เห็นภาพอวัยวะภายในของร่างกายที่มีความคมชัด โดยเฉพาะการตรวจสมอง กระดูกสันหลัง ไขสันหลัง ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมถึงอวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับ ไต มดลูก เป็นต้น

เครื่องอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)

เครื่องอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) การให้บริการด้านรังสีร่วมรักษา (Intervention)

1. Vascular : การสวนเส้นเลือด

1.1  การวินิจฉัย  ได้แก่

  • Angiogram : การฉีดสีดูหลอดเลือดแดง
  • Venogram : การฉีดสีดูหลอดเลือดดำ

1.2   การรักษา  ได้แก่

  • TACE : การรักษาโรคมะเร็งตับ
  • Embolization : การรักษาภาวะเลือดออกจากอวัยวะภายในด้วยการอุดเส้นเลือดหรือเพื่อลดขนาดก้อน เนื้องอกก่อนผ่าตัด
  • Sclerotherapy : การรักษาเส้นเลือดที่ผิดปกติ (AVM)
  • Venoplasty : การขยายเส้นเลือดที่อุดตันในผู้ป่วยฟอกไต

2. Non-vascular : การตรวจวินิจฉัย หรือ รักษาที่ไม่เกี่ยวกับเส้นเลือด

2.1  การวินิจฉัย  ได้แก่

  • Image-guided biopsy : การตัดชิ้นเนื้อโดยใช้ Ultrasound หรือ CT scan เป็นตัวช่วยกำหนดตำแหน่ง เช่น ก้อนเนื้อที่เต้านม ตับ ไต ปอด ก้อนเนื้อในทรวงอก หรือในช่องท้อง เป็นต้น
  • Image-guided aspiration : การเจาะดูดเซลล์หรือฝีหนองโดยใช้ Ultrasound หรือ CT scan เป็นตัวช่วย กำหนดตำแหน่ง เช่น ต่อมธัยรอยด์ ต่อมน้ำเหลือง ฝีที่ตับ น้ำในข้อ ถุงน้ำหรือฝีหนองที่ตำแหน่งต่างๆ เป็นต้น

2.2   การรักษา  ได้แก่

  • Percutaneous biliary drainage (PTBD) : การใส่ท่อระบายน้ำดีในกรณีท่อน้ำดีอุดตัน
  • Percutaneous nephrostomy (PCN) : การใส่ท่อที่ไตเพื่อระบายน้ำปัสสาวะ กรณีท่อไตส่วนล่างอุดตันจากนิ่ว หรือก้อนมะเร็งกดทับ
  • Percutaneous drainage (PCD) : การใส่ท่อระบายน้ำหรือหนอง
  • Radiofrequency ablation (RFA) : การรักษาโรคมะเร็งตับด้วยการจี้เข็มความร้อนโดยใช้เข็มพิเศษ (RF needle หรือ Microwave needle)

ทีมแพทย์ที่เกี่ยวข้อง