การผ่าตัดนรีเวชผ่านกล้อง | แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว
คุณผู้หญิงหลายๆ ท่านคงเป็นกังวลถ้ารู้ว่าตนเองเป็นโรคทางสูตินรีเวช ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดท้องน้อยไม่ทราบสาเหตุ ถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกในมดลูก
ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาทั้งในด้านเทคโนโลยีทาง การแพทย์และเครื่องมือที่ทันสมัย จนเกิดการ ผ่าตัดโดยใช้กล้องเข้ามาช่วยลดขนาดของแผล และเพิ่มความคมชัดแม่นยำในการผ่าตัด
ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
- แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 0.5 – 1.0 เซนติเมตร
- การเสียเลือดและปวดแผลน้อยกว่า
- ใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1 – 2 สัปดาห์
- โอกาสเกิดพังผืดหลังการผ่าตัดน้อยกว่า
- ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดและลดการติดเชื้อ
อย่างไรก็ดี คุณผู้หญิงควรหาเวลามาตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ทำการรักษาหากพบว่าเป็นโรคทางนรีเวชเพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและการรักษาจะยากมากขึ้น
โรคทางนรีเวชที่ใช้วิธีผ่าตัดผ่านกล้อง
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- ผู้มีบุตรยาก ใช้วิธีนี้เพื่อฉีดสีตรวจดูท่อนำไข่
- ตั้งครรภ์นอกมดลูก
- ปวดประจำเดือน หรือปวดท้องน้อยเรื้อรัง
- เนื้องอกมดลูก โดยตัดเฉพาะเนื้องอกหรือตัดทั้งตัวมดลูก
- การทำหมัน
- ฯลฯ
ผ่านิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง | แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว
“นิ่วในถึงน้ำดี” เป็นโรคในระบบทางเดินน้ำดีที่พบได้บ่อยมาก และพบว่ามีคนไทยเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีอายุเกิน 40 ปี หรือผ่านการมีบุตรมาแล้ว
สาเหตุการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี เกิดจากสารประกอบในน้ำดีมีภาวะไม่สมดุลมีลักษณะ เป็นชิ้นส่วนแข็งที่เกิดขึ้นในถุงน้ำดี ชิ้นส่วนเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อส่วนประกอบของน้ำดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอล และบิลิรูบิน (สารให้สีในน้ำดี) ตกตะกอนผลึกเป็นก้อน คล้ายคลึงกับน้ำตาลที่ตกตะกอน โดยก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นนี้ อาจมีขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายหรือใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ และอาจมีได้ตั้งแต่หนึ่งก้อนจนถึงหลายร้อยก้อน
อาการ : เมื่อเกิดมีนิ่วในถุงน้ำดีขึ้นแล้ว ในบางคนอาจไม่มีอาการใดๆ แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการดังนี้
- ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
- ปวดท้องอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณช่องท้องส่วนบน หรือด้านขวา โดยมีระยะเวลาปวดตั้งแต่ 15 นาทีถึงหลาย ชั่วโมง และอาจมีอาการปวดร้าวไปยังบริเวณกระดูกสะบัก หรือบริเวณไหล่ด้านขวา
- ถ้านิ่วตกลงไปอุดท่อน้ำดี จะทำให้มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
แนวทางการรักษา
ส่วนใหญ่ต้องรับประทานยาเป็นเวลานาน และเมื่อหยุดยาก็อาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้อีก การรักษาที่ถาวร คือ วิธีการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก เพื่อไม่ให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีขึ้น ได้อีก และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่างๆ การผ่าตัดถุงน้ำดีปัจจุบันมี 2 วิธีคือ
- ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open Cholecystectomy) ซึ่งจะเลือกใช้ในการผ่าตัดถุงน้ำดีที่มีอาการอักเสบมากหรือแตกทะลุช่องท้อง
- ผ่าตัดผ่านกล้อง โดยการเจาะรูเล็กๆ ที่หน้าท้อง (Laparoscopic Cholecystectomy)
ข้อดีของการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง
- แผลมีขนาดเล็ก จึงดูแลง่ายกว่า ทำให้หายเร็วกว่า
- อาการเจ็บปวดของบาดแผลน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
- โอกาสติดเชื้อน้อยกว่าแผลขนาดใหญ่ รวมถึงอาการแทรกซ้อนอื่นๆ จากการผ่าตัด น้อยกว่า เช่น ไส้เลื่อนที่แผลผ่าตัด เส้นประสาทที่ผนังหน้าท้องถูกตัดขาด เป็นต้น
- ระยะเวลาในการรักษาตัวน้อยกว่า การพักฟื้นหลังผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ถ้าผ่าตัดแบบเดิม ใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1 เดือน (ทั้งนี้ขึ้นกับแนวทางการรักษา และอาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ)
ผู้ป่วยที่เหมาะสมรับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง
- ผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดี แต่อาการไม่มาก
- ผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดี และถุงน้ำดีนี้อักเสบเรื้อรัง
- ผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
- ผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดีอักเสบ ชนิดไม่มีนิ่วทางเดินน้ำดีร่วมด้วย
- โรคติ่งเนื้อ (POLYP) ในถุงน้ำดี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนกลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0-2223-1351 ต่อ 3126