ห้องปฏิบัติการเครื่องฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cath lab)

ห้องปฏิบัติการเครื่องฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cath lab)

Cath lab สามารถใช้ตรวจดูความผิดปกติและประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน รวมถึงการวัดความดันในห้องหัวใจตำแหน่งต่างๆ หากแพทย์ตรวจพบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบ จะทำการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด ถ้าตรวจพบว่ามีโรคความพิการของหัวใจแต่กำเนิด เช่น ผนังกั้นห้องหัวใจรั่ว สามารถทำการปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจด้วยอุปกรณ์ผ่านทางสายสวนหัวใจได้

การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจโดยการฉีดสีสวนหัวใจ (Coronary angiography) : เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เนื่องจากเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ หรือที่เรียกว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอกและเหนื่อยง่าย เมื่อแพทย์ตรวจวินิจฉันแล้วคาดว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน มีความจำเป็นต้องตรวจด้วยวิธีฉีดสีสวนหัวใจ เพื่อดูหลอดเลือดหัวใจว่าตีบหรือตันที่จุดใดก่อนที่จะตัดสินใจให้การรักษาต่อไป ได้แก่ การทำบอลลูนและใส่ขดลวดขยายหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งสามารถดำเนินการต่อเนื่องหลังการฉีดสีสวนหัวใจเลยก็ได้

การตรึงหลอดเลือดหัวใจด้วยขดลวด การปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจหรือเส้นเลือดเกินด้วยวิธีสวนหัวใจ ซึ่งการฉีดสีสวนหัวใจ ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการขยายบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยจะรู้ตัวตลอดเวลาขณะที่แพทย์ทำการฉีดสี (ฉีดยาชา ไม่ต้องวางยาสลบ)โดยนอนอยู่บนเตียง ที่เลื่อนสไลด์ไปมาได้ ผู้ป่วยจะไม่มีความรู้สึกเจ็บในหัวใจหรือในหลอดเลือดเลย

เครื่องตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST) เป็นการตรวจที่สามารถวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขณะออกกำลังกาย ช่วยให้แพทย์ตรวจพบการตอบสนองที่ผิดปกติ เช่น อาการหายใจลำบาก อาการเจ็บแน่นหน้าอก การเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยการตอบสนองที่ผิดปกตินี้จะบ่งชี้ว่ามีการขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจในระหว่างการออกกำลังกาย

เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) 

เป็นการตรวจเพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจได้แก่ ขนาดของห้องหัวใจ การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจการไหลเวียนเลือดในหัวใจการทำงานของลิ้นหัวใจ และดูตำแหน่งของหลอดเลือดต่างๆ ที่เข้า-ออกจากหัวใจ ด้วยหลักการใช้การสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูงส่งผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจ แล้วแปลสัญญาณเหล่านี้มาเป็นภาพให้เห็นบนจอ

การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจโดยการฉีดสีสวนหัวใจ (Coronary angiography)

เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เนื่องจากเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ หรือที่เรียกว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอกและเหนื่อยง่าย เมื่อแพทย์ตรวจวินิจฉันแล้วคาดว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน มีความจำเป็นต้องตรวจด้วยวิธีฉีดสีสวนหัวใจ เพื่อดูหลอดเลือดหัวใจว่าตีบหรือตันที่จุดใดก่อนที่จะตัดสินใจให้การรักษาต่อไป ได้แก่ การทำบอลลูนและใส่ขดลวด เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งสามารถดำเนินการต่อเนื่องหลังการฉีดสีสวนหัวใจเลยก็ได้

การตรวจหลอดเลือดหัวใจมีหลายวิธีซึ่งวิธีการฉีดสีสวนหัวใจจะเป็นการตรวจลำดับสุดท้าย ผลที่ได้จากการฉีดสีสวนหัวใจจะเป็นคำตอบสุดท้ายของการตัดสินวิธีการการรักษา การฉีดสีสวนหัวใจ ประกอบด้วยการฉีดสี และการสวนหัวใจ

การฉีดสี คือ การฉีดสารน้ำที่ทึบรังสีเข้าไปในร่างกาย ผ่านทางหลอดเลือดแดง สารทึบรังสีนี้เป็นสารไอโอดีนที่ปลอดภัยต่อร่างกาย สารไอโอดีนจะมีมากในอาหารทะเล ดังนั้นผู้ป่วยที่แพ้อาหารทะเลจะมีโอกาสแพ้สีที่ฉีดได้ จึงต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน ปริมาณที่ใช้ฉีดเข้าไปในร่างกายจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ ของการทำงานของไตอยู่แล้ว อาจต้องใช้ปริมาณให้น้อยลง

การเตรียมตัวก่อนและหลังการฉีดสีสวนหัวใจ

  1. งดรับประทานอาหารประมาณ 4 ชั่วโมงก่อนทำหัตถการ ยกเว้นยาและน้ำ ยกเว้นยาบางตัวที่แพทย์สั่งให้งด
  2. ในวันนัดทำการฉีดสีสวนหัวใจขอให้มีญาติที่สามารถตัดสินใจการรักษาได้มาอยู่ด้วย เพื่อตัดสินการรักษาที่สำคัญ เช่น การทำบอลลูนขยายหลอดเลือด การผ่าตัดทำบายพาส หรือรับยาต่อ
  3. หลังทำการฉีดสีสวนหัวใจแล้ว ให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ ตามเวลาที่แพทย์สั่งหลังจากนั้นให้เดินได้ แต่ต้องเดินเบาๆ ไม่ยกของหนัก หรือออกกำลังหนักเกินไป

การสวนหัวใจ คือ การใส่ท่อขนาดเล็กประมาณ 2 มิลลิเมตร ผ่านทางหลอดเลือดแดง ที่ขาหนีบหรือที่ข้อมือไปตามทางเดินของหลอดเลือดแดงจนถึงหลอดเลือดหัวใจ เป็นการสอดท่อสวนทางกับทางเดินของหลอดเลือดแดง

การฉีดสีสวนหัวใจ ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการขยายบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยจะรู้ตัวตลอดเวลาขณะที่แพทย์ทำการฉีดสี (ฉีดยาชา ไม่ต้องวางยาสลบ) โดยนอนอยู่บนเตียง ที่เลื่อนสไลด์ไปมาได้ ผู้ป่วยจะไม่มีความรู้สึกเจ็บในหัวใจหรือในหลอดเลือดเลย เพราะในหลอดเลือดไม่มีเส้นประสาท

หลังจากนั้นแพทย์จะฉีดสีและเก็บภาพไว้เพื่อตัดสินการรักษาต่อไป ใช้เวลาประมาณ 20 นาที แต่ถ้าหลอดเลือด เหมาะกับการทำบอลลูนหรือใส่ขดลวดค้ำยันหลอดเลือดหัวใจ แพทย์จะดำเนินการขยายเลยใช้เวลาประมาณ 45 – 60 นาที หลังจากดำเนินการเสร็จแล้ว ท่อที่ขาหนีบหรือข้อมือจะถูกดึงออกและกดรูเข็มที่เจาะไว้ หลังจากนั้นผู้ป่วยนอนเหยียดขาตรง ประมาณ 6 ชั่วโมง ก็ลุกขึ้นนั่งและเดินได้

การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชและศัลยกรรม
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan 160 Slices)
เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI
ห้องปฏิบัติการเครื่องฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cath lab)