เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan 160 Slices)

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan 160 Slices)

CT Scan คือเครื่องตรวจวินิจฉัยเพื่อหาความผิดปกติในร่างกายบริเวณที่เฉพาะเจาะจง โดยใช้หลักการส่งรังสีเอกซ์จากหลอดเอกซเรย์ (X-Ray Tube) ไปที่อวัยวะนั้นๆ แล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อสร้างภาพด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รวบรวมได้จะถูกวิเคราะห์เป็นภาพตัดขวางที่สามารถตัดเป็นส่วนเล็กๆ ทำให้เห็นรายละเอียดด้านในโครงสร้างของอวัยวะและความผิดปกติได้ชัดเจนกว่าภาพเอกซเรย์ทั่วไป สามารถสร้างภาพเป็น 3 มิติ เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ

โรงพยาบาลหัวเฉียว จึงได้นำเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 160 สไลส์ (CT Scan 160 Slices) มาให้บริการตรวจวินิจฉัยโรค ซึ่งสามารถครอบคลุมทุกส่วนของร่างกาย

ความสามารถอัจฉริยะที่ครอบคลุมทุกส่วนของร่างกาย

หัวใจ เพียงแค่ 8 วินาที ก็สามารถถ่ายภาพหัวใจได้ทั้งหมด สามารถจับภาพเส้นเลือดหัวใจได้แม่นยำครบถ้วน จึงทำให้ผู้รับบริการใช้เวลากลั้นลมหายใจน้อยกว่า เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 160 สไลส์ ทำให้ได้ภาพที่คมชัดกว่า ช่วยให้แพทย์สามารถ วินิจฉัยผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือด แต่ยังไม่มีอาการแสดง และกลุ่มที่มีอาการ ที่เตือนให้ต้องสงสัยถึงโรคหัวใจขาดเลือด ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำการป้องกันและรักษาได้ทันเวลา

ตรวจหัวใจให้อะไรมากกว่าเรื่องหัวใจ

การตรวจหัวใจเพียงครั้งเดียว ให้ข้อมูลสำคัญของอวัยวะถึง 3 ส่วนคือ หัวใจ เส้นเลือด และปอด ซึ่งไม่สามารถให้ได้จากการสวนหัวใจ จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในผู้ป่วยที่อาการเจ็บแน่นหน้าอกที่ไม่สามารถแน่ใจว่าเกิดจากหลอดเลือดหัวใจ เพราะอาจเกิดจากเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองหรือการอุดกั้นในเส้นเลือดแดงของปอด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสภาวะที่ต้องการการรักษาอย่างรีบด่วน”

สมอง สามารถช่วยวินิจฉัยความผิดปกติของสมอง อาทิ ภาวะสมองขาดเลือด เลือดออกในสมอง เนื้องอกสมอง และอุบัติเหตุทางสมอง

เส้นเลือด สามารถตรวจระบบเส้นเลือดแดง – ดำ เพื่อหาการตีบตัน แตก หรือฉีกขาดในทุกส่วนของร่างกาย เช่น

  • เส้นเลือดของสมอง
  • เส้นเลือดของไต
  • เส้นเลือดของแขนและขา
  • เส้นเลือดในส่วนอื่นๆ

ศีรษะและคอ เพื่อตรวจหาความผิดปกติและก้อนเนื้องอกในส่วนของลำคอ เช่น ก้อนของต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำเหลือง

หู เพื่อตรวจหาความผิดปกติต่างๆ รวมถึงเนื้องอกในหูชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก

ไซนัส เพื่อตรวจหาความผิดปกติด้านโครงสร้างที่อาจเป็นสาเหตุของ ภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง

ปอด เพื่อตรวจหาเนื้อร้ายเริ่มต้นในปอด (Lung Nodule) ก่อนที่จะเติบโตไปเป็นมะเร็งระยะลุกลาม

ช่องท้อง เพื่อตรวจหาความผิดปกติในช่องท้อง (Abdominal CT) เช่น

  • มะเร็งและเนื้องอกของอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต ต่อมหมวกไต ต่อมน้ำเหลือง
  • นิ่วถุงน้ำดี นิ่วในท่อน้ำดี นิ่วในไต

ลำไส้ใหญ่ เพื่อตรวจหาเนื้องอกระยะเริ่มต้น (Polyps) ในลำไส้ใหญ่โดยการตรวจ CT Coronography ก่อนที่เนื้องอกชนิดนี้จะเปลี่ยนสภาวะเป็นมะเร็งของลำไส้ใหญ่

กระดูก เพื่อหาความผิดปกติของกระดูกในส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือตรวจการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ พร้อมความสามารถ ในการสร้างภาพ 3 มิติ ที่มีความละเอียดสูงเสมือนจริง เช่น

  • กระดูกสันหลัง
  • กระดูกข้อเท้า
  • กระดูกเชิงกราน
  • กระดูกมือและเท้า
  • กะโหลกศีรษะ
  • กระดูกซี่โครง
  • กระดูกส่วนอื่นๆ

ปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ “บอกความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้ด้วย เครื่องเอ็กเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 160 สไลส์ โดยไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี”

โดยปกติแล้วแคลเซียมที่จับผนังหลอดเลือดหัวใจจะเกิดมากในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว (Atherosclerosis) เนื่องจากไขมันความหนาแน่นต่ำ (LDL) ที่จับผนังหลอดเลือด ก่อให้เกิดหินปูน (Plaque) ซึ่งเป็นเหตุของการเกิดการตีบและอุดตันของเส้นเลือดตามมาได้

กล่าวคือหากตรวจพบแคลเซียมสูงแสดงว่ามีการเกิด plaque มาก มีโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสูง เราจึงสามารถใช้ปริมาณแคลเซียมในการคาดคะเนโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ โดยวัดปริมาณแคลเซียมออกมาเป็นแคลเซียมสกอร์ (Coronary Calcium Score)

เมื่อสามารถบอกถึงโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดและอาจต้องได้รับการตรวจอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การตรวจคลื่นหัวใจ (EKG) การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะเดินบนสายพาน (Exercise StressTest) หรือตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจโดยการฉีดสีตามคำแนะนำของแพทย์

การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องซีทีสแกน 160 สไลดส์ (CT Scan 160 Slices) คือประสิทธิภาพเหนือชั้น เพราะ

  • ไม่ต้องสวนหัวใจเพื่อฉีดสี ซึ่งมีขั้นตอนยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสูง
  • ใช้ระยะเวลาตรวจที่รวดเร็ว และมีความแม่นยำสูง ไม่จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาล
  • สามารถลุกขึ้นเดินและทำงานได้ตามปกติหลังการตรวจ
  • วินิจฉัยภาวะเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบในคนที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กราฟหัวใจผิดปกติแต่ไม่มีอาการเจ็บหน้าอกหรือมีอาการที่ไม่ชัดเจน
  • ตรวจเพื่อติดตามผลหลังการผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจหรือขยายเส้นเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่ทำการสวนหัวใจและใส่ขดลวดขยายเส้นเลือดหัวใจ (Stent)
  • สามารถตรวจผู้ที่มีความผิดปกติของเส้นเลือดหัวใจแต่กำเนิด (Coronary Anomalies)

การเตรียมตัวและขอรับการตรวจซีทีสแกน 160 สไลส์

  1. กรณีตรวจสุขภาพ ติดต่อที่ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลหัวเฉียว โดยนัดหมายล่วงหน้าเพื่อความสะดวก เพราะการตรวจบางประเภทต้องนัดพบแพทย์เฉพาะทาง และต้องเตรียมตัวก่อนการตรวจ
  2. กรณีฉุกเฉิน สามารถตรวจได้ตลอดเวลา
  3. กรณีแพทย์สั่งการตรวจมาจากนอกโรงพยาบาล สามารถติดต่อโดยตรงที่..ศูนย์เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
  4. หากแพ้ยาใดๆ หรือแพ้อาหารทะเล กรุณาแจ้งข้อมูลให้แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทราบด้วย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนกลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0-2223-1351 ต่อ 3126

การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชและศัลยกรรม
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan 160 Slices)
เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI
ห้องปฏิบัติการเครื่องฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cath lab)